รีวิว Dumb Phone มือถือฝาพับญี่ปุ่น Kyocera 902KC/903KC Digno Keitai 3

จุดเริ่มต้น

หลังจากใช้งานมือถือแบบ Smartphone มาหลายปี ส่วนใหญ่ใช้งานเพื่อความบันเทิง เช่น เล่นเกมส์ อ่านมังงะ ดูอนิเมะ ฟังเพลง ใช้โซเชียลมีเดีย ทำแบบนี้เป็นประจำ ช่วงหลังๆงานและความรับผิดชอบมีมากขึ้น เล่นมือถือเหมือนเดิม ทำให้เวลาพักผ่อนน้อยลง บางครั้งเกิดความรู้สึกไม่อยากเล่นขึ้นมา เหมือนเป็นงานที่เพิ่มขึ้นมา คล้ายกับเวลาที่เราเล่นเกมส์แล้วไม่อยากทำภารกิจประจำวันในเกมส์

เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเล่นแล้วไม่มีความสุข เป็นเล่นแล้วมีความสุข จึงเกิดความคิดว่า เลือกให้มากขึ้น เล่นให้น้อยลง เช่น เลือกเล่นเกมส์ อ่านมังงะ ดูอนิเมะที่ชื่นชอบจริงๆ โดยเริ่มต้นจากลดการใช้งานมือถือน้อยลงด้วยตัวเอง ใช้โซเชียลลดลง ลดจำนวนเกมส์ที่เล่นลง ผ่านไป 3 เดือน พบว่ามีเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น แต่ยังมีบางช่วงที่ให้ความสนใจมือถืออยู่ 

ผลลัพธ์ของการลดใช้งานมือถือด้วยตัวเอง ได้ผลดีระดับหนึ่ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น จึงเริ่มหาข้อมูลเพิ่มเติม จนได้รู้จักกับ Dumb Phone ขั้วตรงข้ามกับ Smartphone ที่เน้นแค่ฟีเจอร์พื้นฐาน เมื่อทำได้แค่พื้นฐาน การใช้งานเพื่อความบันเทิงต่างๆก็จะลดลง หรือ ใช้งานยากขึ้นจนไม่อยากใช้ ตัวอย่าง Dumb Phone ได้แก่ มือถือปุ่มกด มือถือฝาพับ

การเลือกมือถือและแอปมือถือจำเป็น

เมื่อมีความคิดจะใช้ Dumb Phone แล้ว เริ่มต้นจากเลือกมือถือที่ต้องการจะใช้ ส่วนตัวแล้วชื่นชอบ มือถือฝาพับญี่ปุ่น เป็นพิเศษ เมื่อได้ประเภทมือถือที่ต้องการแล้ว ถัดไปคือการสำรวจฟีเจอร์พื้นฐานและแอปมือถือที่จำเป็นต้องใช้

ฟีเจอร์พื้นฐาน

  • โทรเข้า-ออก, รับข้อความ, นาฬิกาปลุก, ปฎิทิน, กล้อง
  • อินเตอร์เน็ต ขั้นต่ำ 4G LTE
    • 4G ในไทย ได้แก่ 900MHz (Band 8), 1800MHz (Band 3), 2100MHz (Band 1), 2300MHz (Band 40)
  • เปิด Hotspot ได้
  • ติดตั้งแอปมือถือได้

แอปมือถือที่จำเป็นต้องใช้

  • Microsoft Authenticator เวอร์ชันขั้นต่ำ Android 8.0 หรือ iOS 15.0 สำหรับเข้าเครื่องที่ทำงาน
  • True Money  เวอร์ชันขั้นต่ำ Android 5.0 หรือ iOS 12.0 สำหรับแสกนจ่าย
  • Messenger เวอร์ชันขั้นต่ำ Android 5.0 หรือ iOS 15.0 สำหรับอ่านข้อความ/โทร
  • Line เวอร์ชันขั้นต่ำ Android 6.0 หรือ iOS 16.0 สำหรับอ่านข้อความ/โทร

* บางคนอาจใช้งาน Line หรือ Messenger ในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนได้ เนื่องจากสเปคมือถือฝาพับไม่สูงและพื้นที่จำกัด

** แอปธนาคาร ต้องการความปลอดภัยและ OS เวอร์ชั่นขั้นต่ำที่สูง เลยเลือกใช้ใน Smartphone หรือคอมพิวเตอร์ เท่านั้น สำหรับการแสกนจ่ายต่างๆใช้ผ่าน True Money แทน โดยเติมเงินจากแอปธนาคารเข้า True Money ไว้ล่วงหน้า


ตัวเลือกมือถือจากความต้องการ

  • Sharp Aquos SH-02L Keitai 2 - Android 8.1, 4G LTE Band 1,3,19
  • Sharp Aquos A205SH Keitai 4 - Android 10, 4G LTE Band 1,3,8
  • Kyocera 902KC/903KC Digno Keitai 3 - Android 8.1, 4G LTE Band 1,3,8
  • Kyocera A202KC Digno Keitai 4 - Android 10, 4G LTE Band 1,3,8

ราคามือถือฝาพับญี่ปุ่น มือสอง Unlock Sim พร้อมใช้งานได้ มีตั้งแต่ 2,000 - 5,000 บาท

หลังจากตามหาใน Shopee, Lazada, eBay มาสักพัก ไปเจอประกาศขายหนึ่งในรุ่นที่เล็งไว้เลยติดต่อขอซื้อ

รุ่นที่ได้มาคือ Kyocera 902KC/903KC Digno Keitai 3

Kyocera 902KC/903KC Digno Keitai 3

ภาพจาก kyocera.co.jp

สเปคบางส่วน อ้างอิงจาก kyoex.com

OS: Android 8.1

CPU: Qualcomm Snapdragon 210

Memory : 8 GB ROM / 1 GB RAM

4G Network : FDD-LTE 900, 1700/ 2100, 1800, 2100 MHz (Band 1, 3, 4, 8)

Micro SD memory card supports up to 32 gigs

Battery Size : 1700 mAh

Main Display : 3.4 Inch qHD Display screen (540 x 964 pixels)

Sub Display : 1.0 Inch screen (128 x 36 pixels)

Bluetooth version 4.2

WiFi 802.11 b/g/n

Type-C USB Interface port


การใช้งานเบื้องต้น


ปุ่มที่ใช้งานเป็นประจำคือ 
  • ปุ่มควบคุมทิศทาง Up Down Left Right (1,2,5,11)
  • ปุ่มตรงกลาง Center Key (10) สำหรับเข้าหน้าแอปรวม หรือ กดตกลง
  • ปุ่มลบหรือย้อนกลับ Clear/Back Key สำหรับลบข้อความที่พิมพ์ หรือ ถอยกลับจากเมนูต่างๆ
  • ปุ่มเลขโรมัน I,II,III Custom Key (9) สำหรับกำหนดแอป หรือกดค้างเพื่อเรียกใช้ฟังชั่นต่างๆ เช่น
    • II กดค้างเพื่อเรียกดูแจ้งเตือน Notification
    • III กดค้างเพื่อเปิด/ปิด Mouse Pointer ที่หน้าจอ (ตอนใช้งานเว็บ หรือ แอปต่างๆ)
  • ในหน้าแอปรวม สามารถกด Browser Key เพื่อ เพิ่ม ลด แอพในหน้าจอได้ (แอพไม่โชว์ทั้งหมดจำกัดแค่ 12 แอป แต่มีเพิ่มแบบ List > Custom Menu เพื่อเพิ่มหลายๆแอปได้)

ข้อสังเกตุและข้อจำกัด

  • มือถือใช้งานโทรออก-รับสาย ข้อความ เชื่อมต่อ Wifi ได้
  • ใช้งานอินเตอร์เน็ตมือถือ 4G ในไทยได้แต่ต้องตั้งค่า APN ก่อน
  • เปิดใช้งาน Hotspot ได้ โดยไปที่ Service > Tethering
  • มีภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษให้เลือก ไม่มีภาษาไทย แต่อ่านไทยได้ปกติ
  • หน้าจอไม่ใช่ touch screen
  • ปุ่มกด T9 ไม่ใช่ touch pad (บางรุ่นส่วนปุ่มกดทั้งหมดใช้แทน touch pad ได้)
  • สเปคเครื่องไม่แรง ความจุไม่เยอะ
  • ไม่มีกล้องหน้า
  • ไม่มีรูหูฟัง 3.5mm
  • ไม่มี GMS (Google Play Store/ Google Service) ทำให้โหลดแอปไม่ได้
  • GPS ใช้งานไม่ได้ ทำให้ แอปสภาพอากาศ แผนที่ อื่นๆ หาตำแหน่งไม่ได้
  • TV ใช้งานไม่ได้นอกญี่ปุ่น
  • ไม่กล้า Factory Reset เพราะไม่รู้ว่าการ Unlock Sim มันจะหายไปด้วยไหม
  • ไม่มีเคส ไม่มีฟิล์มกันรอย


วิธีแก้ปัญหามือถือญี่ปุ่น หรือ เครื่องที่ไม่มี GMS

หลังจากหาข้อมูลต่างใน Reddit, XDA และ YouTube และลองผิดลองถูกสักพักใหญ่ ก็สามารถแก้ไขข้อจำกัดต่างๆได้เกือบทั้งหมด

การติดตั้งแอปมือถือผ่าน ADB บน Windows หรือ MacOS 

การโหลดแอปนอก Play Store สามารถติดตั้งเองได้ผ่าน ADB สำหรับการโหลดแอป apk ผ่านมือถือโดยตรงจะไม่สามารถติดตั้งได้ ครั้งแรกต้องผ่าน ADB ก่อน โดยลง Store นอก จากนั้นก็เลือกโหลดแอปที่ต้องการผ่าน Store นี้ได้บนมือถือ

ติดตั้งแอปผ่าน ADB บน Windows หรือ MacOS

ดูได้จากลิงค์นี้ How to install ADB on Windows, macOS, and Linux

โดยต้องเข้าโหมด Developer ก่อนเพื่อเรียกใช้ USB Debugging 

ดูได้จากลิงค์นี้ Kyocera 902KC | The Simple Living Guide


คำสั่งเบื้องต้น

ตรวจสอบว่าเชื่อมต่อสำเร็จไหม

.\adb devices

ติดตั้งแอป

.\adb install apk/F-Droid.apk

ถอดการติดตั้ง สามารถเช็คชื่อ package จากการติดตั้งแอปเดิมซ้ำ

.\adb uninstall org.fdroid.fdroid


แอปมือถือที่จำเป็นต้องติดตั้ง

แอปมือถือจำเป็นที่ต้องติดตั้งผ่าน ADB ได้แก่ F-Droid หรือ Aurora Store สำหรับใช้แทน Store เพื่อโหลดแอปอื่นๆ และ MicroG แทน GMS สำหรับแก้ปัญหา GPS และ แอปที่เรียกใช้ GMS บางส่วน (Microsoft Authenticator)

* Microsoft Authenticator จำเป็นต้องมี GMS เพื่อเรียกใช้ Notification ของ GMS ให้มี popup ใส่รหัสสำหรับเข้าเครื่องที่ทำงาน (ในกระทู้แจ้งปัญหาของ Microsoft มีคนบ่นเรื่องนี้เหมือนกัน คุณคือ Microsoft แต่พัฒนาแอปให้ผูกติดกับ Google Service นี่นะ 😐) 

F-Droid สำหรับโหลดแอปต่างๆ ที่ไม่มีใน Play Store และโหลด Aurora Store มาลงได้

Aurora Store สำหรับโหลดแอปต่างๆ (Store นอก ที่โหลดจาก Play Store อีกที)

microG Project เป็นแอปใช้งานเรียกใช้ library ต่างๆ ทดแทน Google Service สำหรับมือถือที่ไม่มี GMS โดยโหลดทั้ง 3 ตัว 

  • microG Services (GmsCore) - microG GmsCore project already includes the Unified Network Location Provider.
  • microG Services Framework Proxy (GsfProxy) - Services Framework Proxy if you want to use Google Cloud Messaging ("Push-Notifications").
  • microG Companion (FakeStore) - microG Companion

ตั้งค่า MicroG เพื่อให้ใช้งาน GPS, Push-Notifications ได้

เพิ่มแอป MicroG Settings ในหน้าแอปรวม
เปิด MicroG Settings
Self-Check > Play Services (GmsCore) installed > Checked
Google Service >
Google device registration = On
Cloud Messaging = On > Receive push notification = On
Google SafetyNet = On

ติดตั้ง Aurora Store เพื่อใช้แทน Play Store
เพิ่มแอป F-Droid ในหน้าแอปรวม
เปิด F-Droid
ค้นหาแอป Aurora Store > ติดตั้ง
* กรณีติดตั้งผ่าน ADB ไปแล้ว ข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย

เพิ่มแอป Aurora Store ในหน้าแอปรวม
เปิด Aurora Store เข้าด้วย Anonymous (ไม่จำเป็นต้อง Login Google)
ค้นหาแอปที่ต้องการติดตั้ง

แอปมือถือแนะนำอ้างอิงจากการใช้งาน
  • Microsoft Authenticator สำหรับเข้าเครื่องที่ทำงาน (วิธีตั้งค่า ทำเองหรือติดต่อ IT ในบริษัท)
  • True Money  สำหรับแสกนจ่าย (ตอนยืนยันตัวตนด้วยการแสกนหน้า ให้กลับหัวกล้องเวลาแสกน)
  • Messenger สำหรับอ่านข้อความ/โทร (สำหรับโทรผ่านเน็ต)
  • Line ไม่ได้ลองติดตั้ง เพราะคิดว่าไม่น่าไหว และ วิดีโอกล้องหน้าไม่ได้
  • Spotify สำหรับฟังเพลง พอตแคส ผ่านเน็ต หรือ ใช้ฟังไฟล์เพลง mp3 ได้
  • Maps Go เป็น Google Maps ผ่านเว็บ สำหรับดูแผนที่ ใช้นำทางไม่ได้ (Waze ใช้นำทางได้)
  • Man Man Keyboard สำหรับพิมพ์ไทย ใช้คู่กับ Mouse Pointer (กด III ค้าง)
  • Keyboard Switcher สำหรับสลับ Keyboard ระหว่าง Man Man Keyboard กับ T9 ปุ่มกด เพราะไม่มีเมนูให้สลับ ต้องกดผ่านแอปนี้เท่านั้น บางแอปเรียก Mouse ไม่ได้ หรือ เหมาะกับกดด้วย T9 มากกว่า

การใช้งานหลังจากแก้ปัญหาแล้ว

  • มือถือใช้งานพื้นฐานได้ปกติ ต่ออินเตอร์เน็ต 4G ได้ และเปิด Hotspot ได้
  • พิมพ์ไทยได้ ร่วมกับการเปิดใช้งาน Mouse Pointer
  • สลับ Keyboard ได้ จากตอนแรกลง Keyboard ใหม่ กลับไปใช้ T9 ไม่ได้
  • แอปสภาพอากาศ แผนที่ ใช้งานได้แล้ว หลังติดตั้ง MicroG
  • True Money ใช้แสกนจ่ายได้จริง ที่ 7-11 และแสกน QR code (เผื่อเวลาเปิดแอป 1 นาที และ วางแผนเติมเงินไว้ด้วย)
  • Microsoft Authenticator ใช้งานได้ แจ้งให้ใส่รหัสเพื่อเข้าเครื่องที่ทำงาน หลังติดตั้ง MicroG
  • ซื้อหูฟัง type C หรือ หูฟังไร้สาย มาใช้
  • TV ใช้งานไม่ได้นอกญี่ปุ่น เหมือนเดิม
  • ก่อนใช้งานอย่างลืมปิด Developer Mode
  • เสียงแจ้งเตือนแบบญี่ปุ่นหาได้จากที่นี่ Anime Message Ringtones - Free By Zedge™
  • แบตเตอรี่อยู่ได้ทั้งวัน เพราะไม่ได้ใช้งานอะไรเยอะ
  • ใช้ฟิล์มไฮโดรเจลมาตัดติดใช้แทนเคสกับกันรอยหน้าจอ

บทสรุป

หลังจากได้เครื่องมาใช้งานจริง พบปัญหาหลายอย่าง เช่น พิมพ์ไทยไม่ได้ หา mouse ไม่เจอ, ยืนยันตัวตนกับ True Money ไม่ผ่าน, Authenticator ลงชื่อเข้าใช้ได้แต่ไม่สมบูรณ์, แอปพยากรณ์อากาศใช้ไม่ได้ แต่ด้วยความชื่นชอบมือถือฝาพับญี่ปุ่น จึงแบ่งเวลามาหาข้อมูลจนประกอบความรู้ในส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน ลองผิดลองถูกหลายรอบใช้เวลาหลายเดือนจนแก้ปัญหาได้

ตอนนี้มือถือฝาพับญี่ปุ่น Kyocera Digno Keitai 3 พร้อมใช้งานแทนมือถือเครื่องเดิมได้แล้ว (Poco X5 Pro) แอปที่ยังเก็บไว้ในเครื่องเดิมก็คือ Line ใช้สำหรับ Video Call กับที่บ้าน ถ้ามีธุระด่วนให้โทรหาแทน เมื่อใช้เวลากับมือถือน้อยลง เวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น ช่วงวันหยุดหรือวันว่างได้มีเวลากลับมาเล่นเกมส์ อ่านมังงะ ดูอนิเมะ ยังรู้สึกสนุกและมีความสุขได้ ส่วนเวลาที่เหลือยังสามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นได้

สุดท้ายแล้ว เราเลือกมือถือให้เหมาะกับการใช้งาน ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ควรปรับตามการใช้งานและแบ่งเวลาให้เหมาะสม


หาข้อมูลหมดไฟเล่นเกมส์ได้จาก

หาข้อมูล Dumb Phone ได้จาก

หาข้อมูล มือถือฝาพับญี่ปุ่น ได้จาก

 

รูปมือถือ แอปในเครื่อง กับ ฟิล์มตัดแปะ

รูปมือถือ, ฟิล์มตัดแปะ V2, ตัวอย่างการใช้แอป (Weather, Maps Go, True Money, Spotify) 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม